นอกจากนี้ใบของพืชยังมีลักษณะอื่นๆ ที่แตกต่างกันอีก ได้แก่
1. ขอบใบ พืชบางชนิดมีขอบใบเรียบ บางชนิดมีขอบใยหยัก
2. ผิวใบ พืชบางชนิดมีผิวใบเรียบเป็นมัน บางชนิดมีผิวใบด้านหรือขรุขระ
3. สีของใบ พืชส่วนใหญ่จะมีใบสีเขียว แต่บางชนิดมีใบสีอื่น เช่น แดง ส้ม เหลือง เป็นต้น
4. เส้นใบ เส้นใบของพืชมีการเรียงตัวใน 2 ลักษณะ ได้แก่
- เรียงตัวแบบร่างแห เช่น ใบมะม่วง ตำลึง อัญชัน ชมพู่ เป็นต้น
- เรียงตัวแบบขนาน เช่น ใบกล้วย หญ้า อ้อย มะพร้าว ข้าว เป็นต้น
ชนิดของใบ
1. ใบเดี่ยว คือ ใบที่มีแผ่นใบเพียงแผ่นเดียวติดอยู่บนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น เช่น ใบมะม่วง ชมพู่ กล้วย ข้าว ฟักทอง ใบเดี่ยวบางชนิดอาจมีขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปมากจนดูคล้ายใบประกอบ เช่น ใบมะละกอ สาเก มันสำปะหลัง เป็นต้น
1. ใบเดี่ยว คือ ใบที่มีแผ่นใบเพียงแผ่นเดียวติดอยู่บนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น เช่น ใบมะม่วง ชมพู่ กล้วย ข้าว ฟักทอง ใบเดี่ยวบางชนิดอาจมีขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปมากจนดูคล้ายใบประกอบ เช่น ใบมะละกอ สาเก มันสำปะหลัง เป็นต้น
2. ใบประกอบ คือ ใบที่มีแผ่นใบแยกเป็นใบย่อยๆ หลายใบ ใบประกอบยังจำแนกย่อย ได้ดังนี้
1) ใบประกอบแบบฝ่ามือ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากจุดเดียวกันที่ส่วนของโคนก้านใบ พืชบางชนิดอาจมีใบย่อยสองใบ เช่น มะขามเทศ หรือสามใบ เช่น ยางพารา ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว บางชนิดอาจมีสี่ใบ เช่น ผักแว่น หรือมากกว่าสีใบ เช่น ใบนุ่น หนวดปลาหมึก ใบย่อยดังกล่าวอาจมีก้านใบหรือไม่มีก็ได้
1) ใบประกอบแบบฝ่ามือ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากจุดเดียวกันที่ส่วนของโคนก้านใบ พืชบางชนิดอาจมีใบย่อยสองใบ เช่น มะขามเทศ หรือสามใบ เช่น ยางพารา ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว บางชนิดอาจมีสี่ใบ เช่น ผักแว่น หรือมากกว่าสีใบ เช่น ใบนุ่น หนวดปลาหมึก ใบย่อยดังกล่าวอาจมีก้านใบหรือไม่มีก็ได้
2) ใบประกอบแบบขนนก เป็นใบประกอบที่ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้านสองข้างของแกนกลางคล้ายขนนก ปลายสุดของใบประกอบอาจมีใบย่อยใบเดียว เช่น ใบกุหลาบ หรืออาจมีใบย่อยสองใบ เช่น ใบมะขาม
หน้าที่ของใบ มีดังนี้
1. สร้างอาหาร ใบของพืชจะดูกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อนำไปสร้างอาหาร เรียกกระบวนการสร้างอาหารของพืชว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง
2. คายน้ำ พืชคายน้ำทางปากใบ
3. หายใจ ใบของพืชจะดูดแก๊สออกซิเจนและคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
4. ทำหน้าที่พิเศษต่างๆ เช่น
1. สะสมอาหาร เช่น ใบว่านหางจระเข้ กลีบของกระเทียม และหัวหอม เป็นต้น
2. ขยายพันธุ์ เช่น ใบคว่ำตายหงายเป็น ใบเศรษฐีพันล้าน เป็นต้น
3. ยึดและพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ เช่น ใบตำลึง ใบมะระ และถั่วลันเตา เป็นต้น
4. ล่อแมลง เช่น ใบดอกของหน้าวัว ใบดอกของเฟื่องฟ้า เป็นต้น
5. ดักและจับแมลง ทำหน้าที่จับแมลงเป็นอาหาร เช่น ใบหม้อข้าวหม้อแกงลิง ใบกาบหอยแครง เป็นต้น
6. ลดการคายน้ำของใบ เช่น ใบกระบองเพชรจะเปลี่ยนเป็นหนามแหลม เป็นต้น
ข้อมูลเป็นประโยชน์ดีค่ะ อยากเสนอให้ตรวจสอบข้อมูลเรื่องการหายใจของพืชส่วนใหญ่ ซึ่งการดูดและคายอ็อกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์จะมีความแตกต่างกันระหว่างกลางวันกับกลางคืนด้วยนะคะ
ตอบลบ